Last updated: 30 ธ.ค. 2563 | 2163 จำนวนผู้เข้าชม |
กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่นายจ้างไม่ต้องการจ้างลูกจ้างนั้นต่อไป แต่หากลูกจ้างกระทำหนึ่งในหกข้อนี้ นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
1. ลูกจ้างกระทำจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง เช่น ลักทรัพย์นายจ้าง ทำร้ายร่างกายนายจ้าง วางเพลิงสถานประกอบการ เป็นต้น
2. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เช่น จงใจส่งของล่าช้า หรือทำประการใด ๆ ให้เกิดความเสียหายแก่กิจการของนายจ้าง เป็นต้น
3. ประมาทเลินเล่อทำให้นายจ้างเสียหายอย่างร้ายแรง เช่น ลืมปิดระบบเครื่องจักรทำให้เกิดการรั่วไหลของสารเคมีจนเกิดประกายไฟทำให้เกิดเพลิงไหม้ เป็นต้น
4. ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้าง (โดยระเบียบหรือคำสั่งนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย) โดยนายจ้างต้องมีการตักเตือนก่อน แต่หากเป็นกรณีร้ายแรงนายจ้างไม่ต้องตักเตือนก็ได้ สามารถเลิกจ้างได้เลย
5. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันติดต่อกัน (จะมีวันหยุดคั่นด้วยหรือไม่ก็ตาม)
6. ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
หากนายจ้างจะเลิกจ้าลูกจ้างด้วยเหตุผลทั้งหลายที่กล่าวมา นายจ้างจะต้องระบุเหตุผลและข้อเท็จจริงไว้ในหนังสือเลิกจ้างด้วย เพราะหากไม่ระบุไว้นายจ้างจะหยิบยกมาอ้างภายหลังไม่ได้
5 ม.ค. 2567
10 ก.พ. 2567
1 เม.ย 2567