FAQ คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับการจัดการมรดกด้วยระบบ i-LAWBOT

1. i-LAWBOT คืออะไร

ตอบ i-LAWBOT คือระบบสร้างเอกสารทางกฎหมายอัตโนมัติ ภายใต้การบริการจัดการของบริษัท กฎหมายชาญดิศ จำกัด เอกสารทางกฎหมายที่

ระบบนี้ให้บริการได้แก่ การสร้างคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก คำฟ้องคดีมโนสาเร่ และเอกสารสัญญาสำเร็จรูป โดยในระยะแรกจะให้บริการสร้างคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกก่อน

เพื่อให้คุณเข้าถึงบริการทางกฎหมายได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ประหยัดและเป็นธรรม

2. ต้องจัดการมรดกหรือขอตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อไร

ตอบ เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรม ทายาทต้องดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อตั้งผู้จัดการมรดกภายใน 1 ปีนับตั้งแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่กรรม

3. ระบบ i-LAWBOT ใช้อย่างไร

ตอบ เข้าไปที่ www.i-lawbot.com  (ระบบจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป) จากนั้นกดที่ปุ่ม "เริ่มต้นใช้งาน" ทำการลงทะเบียนด้วยการกรอกข้อมุลให้ครบถ้วน ชำระเงินจากนั้นรอเจ้าหน้าที่อนุมัติให้เข้าใช้ระบบ

คุณจะได้รับแจ้งการอนุมัติเข้าใช้ระบบผ่านทางอีเมล จากนั้นให้คุณกรอกเลขที่คำร้อง และกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน จากนั้นปรินต์เอกสารออกมา

นำไปยื่นต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในขณะที่เสียชีวิต (ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน) 

4. จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลไหน

ตอบ การยื่นตำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องยื่นต่อศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ขณะที่เสียชีวิต (ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน)

เช่น เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ก็ต้องยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดกาญจนบุรี

คุณสามารถตรวจสอบรายชื่อศาลได้ที่ https://pubdata.coj.go.th/jurisdiction/ เลือกเมนู "สืบค้นโดยเขตพื้นที่

5. ใครที่สามารถใช้ระบบ i-LAWBOT ได้

ตอบ กรณีที่เจ้ามรดกถึงแก่กรรมและไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ผู้ที่สามารถใช้ระบบ i-LAWBOT ได้คือทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียกับเจ้ามรดกได้แก่ บุตร บุตรบุญธรรม คู่สมรส มารดา บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและพี่น้องร่วมบิดามารดา

และทายาทอื่นไม่คัดค้านในการร้องจัดการมรดก

หากมีทายาทอื่นคัดค้านท่านสามารถดำเนินการโดยติดต่อกับที่ปรึกษากฎหมายที่หมายเลข 062-232-6725

6. การยื่นคำร้องต่อศาลต้องทำอย่างไร

ตอบ หลังจากกรอกข้อมูลเสร็จเรียบร้อย ให้คุณปรินต์เอกสารทั้งหมดออกมาจากระบบได้แก่ คำร้อง บัญชีพยาน บัญชีเครือญาติ บัญชีทรัพย์ คำแถลงขอประกาศทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พร้อมกับเอกสารอ้างอิงแนบท้ายอื่นๆ

อาทิ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาใบมรณบัตร สำเนาใบสำคัญการสมรส และเอกสารเกี่ยวกับทรัพย์อื่นๆ 

ไปยื่นต่อศาลที่หน่วยงานรับฟ้องแพ่ง จากนั้นเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเอกสาร และแจ้งหมายเลขคดีดำ วันและเวลานัดไต่สวนให้ทราบ 

7. ขั้นตอนการไต่สวนในศาล

ตอบ เมื่อถึงวันนัดไต่สวน ให้คุณแต่งกายสุภาพ ปรินต์แบบฟอร์มคำเบิกความจากระบบพร้อมทั้งเอกสารอ้างอิงต้นฉบับไปด้วย เมื่อไปถึงให้คุณใช้หมายเลขคดีดำตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ว่าคดีอยู่บัลลังก์ไหน

เมื่อไปที่บัลลังก์ ให้แจ้งกับเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ว่ามาไต่สวนคำร้องจัดการมรดกและมอบเอกสารต้นฉบับให้กับเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ จากนั้นนั่งรอเจ้าหน้าที่เรียก เมื่อถึงเจ้าหน้าที่เรียกให้ขึ้นไต่สวน ให้ท่านกล่าวคำสาบานตนจากนั้นศาลจะถามคำถามตามเนื้อหาในคำร้อง

เมื่อเสร็จสิ้นการไต่สวน ก่อนกลับให้คุณเซ็นชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาก่อน

8. หลังจากไต่สวนเสร็จแล้วต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป

ตอบ หลังการไต่สวนเสร็จสิ้นไปแล้ว 30 วัน คุณจึงสามารถขอคัดคำสั่งศาลและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดได้เพื่อนำไปใช้ในการจัดการมรัพย์มรดกต่อไป

9. หากต้องการยื่นคำร้องขอถอดถอนผู้จัดการมรดก ฟ้องผู้จัดการมรดกฐานยักยอกทรัพย์ การยื่นคำร้องจัดการมรดกโดยมีพินัยกรรม

การยื่นคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดก หรือกรณีพี่น้องต่างมารดาร้องขอจัดการมรดกจะต้องทำอย่างไร

ตอบ กรณีดังกล่าวคุณต้องแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินการ โดยสามารถติดต่อทนายความได้ที่หมายเลข 062-232-6725 | 089-988-5186


หากคุณมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการมรดกด้วยระบบ i-LAWBOT

สามารถติดต่อสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 062-232-6725 | 089-988-5186

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้